รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
ความเป็นมา ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดหลังจากเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 หลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้ลา ออกจาก ตำแหน่ง โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี นายก รัฐมนตรีได้แต่งตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2516 ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 18 คน โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้นำเอารัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492 มาเป็นแนวใน การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้เวลาในการยกร่างเพียง 3 เดือนเท่านั้น คณะ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2517 จากนั้นจึงส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้นิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาและลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2517 และพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐะรรมนูญเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 เนื่องจากคณะกรรมการได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นแนวทางในการ พิจารณารัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงวางแนวการปกครองไว้คล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 คือ ยึดถือหลักการของ "ระบบรัฐสภา" เป็นหลักในการปกครอง โดยมี สาระสำคัญ สรุปดังนี้ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรรัฐสภาจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกันย่อมเป็นไปตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 100 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์วาระในการดำรงตำแหน่ง คราวละ 6 ปี ในวาระแรกเมื่อครบ 3 ปี ให้ออกจากตำแหน่งกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับ สลากและได้กำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจในการออกกฎหมายและควบคุมการบริหาร งานของคณะรัฐมนตรีเกือบเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง มีจำนวนไม่น้อยกว่า 240 คน แต่ไม่เกิน 300 คน จำนวน ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้คำนวณตาม เกณฑ์ จำนวนราษฎรที่กำหนดไว้ใน กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรวาระในการดำรงตำแหน่งคราว ละ 4 ปี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 30 คน มีหน้าที่ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงตั้ง นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรและรัฐมนตรีอีกไม่น้อยกว่ากึงหนึ่งของจำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด จะ ต้องเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการตั้ง นายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนด ไว้ว่าห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาโดยเด็ดขาด ซึ่งเท่ากับมอบอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังได้วางหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างกว้างขวาง เช่น บุคคลจะ ไม่ถูกจับกุมหรือสอบสวน เพื่อให้มีการฟ้องร้องเขาในคดีอาญาโดยเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานเดียวกัน เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้ประกาศอุดมการณ์ ไว้อย่างแจ้งชัดว่ายึดมั่นใน "การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันจะยังผลให้เกิด ความเป็นธรรมในสังคม ป้องกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและรักษาผลประโยชน์ของ ประชาชนชาวไทย โดยจะดำเนินการให้ความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทาง เศรษฐกิจและสังคมลดน้อยลงและส่งเสริมให้ชาวนา และเกษตรกรอื่นมีกรรมสิทธิ ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามสมควร
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517
|